โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นโรคติดเชื้ออันเกิดจากไวรัสโคโรนากลุ่มอาการทางเดินทางหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2)[8] มีระบุโรคครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2562 ในนครอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน และได้กระจายไปทั่วโลกนับแต่นั้น ส่งผลให้เกิดการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562–2563[9][10]อาการทั่วไป ได้แก่ ไข้ ไอ และหายใจลำบาก อาการอื่น ๆ อาจรวมถึงอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง เจ็บคอ ภาวะเสียการรู้กลิ่นและภาวะเสียการรู้รส[5][6][11] แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง แต่บ้างทรุดลงเป็นกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) ซึ่งน่าจะมีปัจจัยกระตุ้นจากพายุไซโตไคน์[12] อวัยวะล้มเหลวหลายอวัยวะ ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ และลิ่มเลือด[13][14][15] เวลาตั้งแต่การสัมผัสจนถึงเริ่มแสดงอาการตรงแบบกินเวลาห้าวัน แต่อาจมีได้ตั้งแต่สองถึงสิบสี่วัน[5][16]ไวรัสแพร่ระบาดได้ระหว่างบุคคลในช่วงที่มีการสัมผัสใกล้ชิดเป็นหลัก[lower-alpha 1] มักผ่านละอองเสมหะขนาดเล็กที่เกิดจากการไอ[lower-alpha 2] จามหรือสนทนา[6][17][19] แม้ละอองเสมหะเหล่านี้เกิดเมื่อหายใจออก แต่ปกติจะตกลงสู่พื้นหรือติดค้างบนพื้นผิว ไม่ใช่ติดเชื้อได้จากระยะไกล[6] บุคคลอาจติดเชื้อได้จากการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนแล้วนำมาแตะตา จมูกหรือปากของตน[6] ไวรัสสามารถอยู่รอดบนพื้นผิวได้นานถึง 72 ชั่วโมง ไวรัสติดต่อทางสัมผัสได้มากที่สุดระหว่างสามวันแรกหลังเริ่มแสดงอาการ กระนั้นไวรัสอาจแพร่ได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มปรากฏอาการและในโรคระยะหลังแล้ว วิธีการวินิจฉัยมาตรฐาน คือ ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสย้อนกลับแบบเรียลไทม์ (rRT-PCR) จากการกวาดคอหอยส่วนจมูก[20] การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ทรวงอกอาจเป็นประโยชน์สำหรับวินิจฉัยผู้ที่ต้องสงสัยติดเชื้อมากโดยอาศัยอาการและปัจจัยเสี่ยง แต่ไม่แนะนำให้ใช้คัดกรองเป็นกิจวัตร[21][22]มาตรการที่แนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ การหมั่นล้างมือ การเว้นระยะห่างทางกายกับผู้อื่น (โดยเฉพาะจากผู้ที่มีอาการ) การปิดการไอและจามด้วยกระดาษทิชชูหรือข้อพับศอก และงดนำมือที่ไม่ได้ล้างแตะใบหน้า[7][23][24] แนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองมีไวรัสและผู้ดูแลบุคคลเหล่านั้น[25][26] คำแนะนำการใช้หน้ากากอนามัยสำหรับประชาชนทั่วไปนั้นแตกต่างกันไปตามหน่วยงาน บ้างไม่แนะนำให้ใช้ บ้างแนะนำให้ใช้ และบ้างกำหนดว่าต้องใช้[26][27][28]ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่จำเพาะสำหรับโควิด-19[6] การรักษาเกี่ยวข้องกับการรักษาอาการ การประคับประคอง การแยกตัว และมาตรการในขั้นทดลอง[29] องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของโคโรนาไวรัส 2019–20 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563[30][31] และเป็นโรคระบาดทั่วเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563[10] มีการบันทึกการแพร่เชื้อในื้องถิ่นในประเทศส่วนใหญ่ของภูมิภาค WHO ทั้งหกภูมิภาค[32]

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

อาการ ไข้ ไอ อ่อนเพลีย หายใจกระชั้น ไม่ได้กลิ่น บางทีไม่มีอาการ[4][5][6]
สาขาวิชา โรคติดเชื้อ
การออกเสียง
สาเหตุ ไวรัสโคโรนากลุ่มอาการทางเดนิหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV-2)
ความชุก ผู้ป่วยยืนยันแล้ว แม่แบบ:Cases in the COVID-19 pandemic ราย
วิธีวินิจฉัย การทดสอบ rRT-PCR, ซีทีสแกน
ภาวะแทรกซ้อน ปอดบวม, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อไวรัส, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, ไตวาย, กลุ่มอาการหลั่งไซโตไคน์
ปัจจัยเสี่ยง การเดินทาง การสัมผัสไวรัส
การรักษา การรักษาตามอาการและประคับประคอง
การเสียชีวิต แม่แบบ:Cases in the COVID-19 pandemic ราย (แม่แบบ:Cases in the COVID-19 pandemic ของผู้ป่วยยืนยันแล้ว)แม่แบบ:Cases in the COVID-19 pandemic
การตั้งต้น 2–14 วันจาการติดเชื้อ (ตรงแบบ 5 วัน)
ชื่ออื่น
  • ปอดบวมไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่[1][2]
การป้องกัน การล้างมือ, การปิดใบหน้า, การกักโรค, การเว้นระยะห่างทางสังคม[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 http://www.bccdc.ca/resource-gallery/Documents/Gui... http://weekly.chinacdc.cn/en/article/id/e53946e2-c... http://en.nhc.gov.cn/2020-02/07/c_76337.htm http://rs.yiigle.com/yufabiao/1181998.htm http://www.columbia.edu/~jls106/galanti_shaman_ms_... http://med.stanford.edu/content/dam/sm/id/document... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18478118 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20197533 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22563403 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30463995